fbpx

ประวัติศาสตร์ : พระราชพิธีบรมราชภิเษกในราชอาณาจักรไทย ได้รับอิทธิพลจากคติอินเดีย พระราชพิธีจึงเจือปนด้วยลัทธิพราหมณ์และลัทธิพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นโบราณราชพิธีที่ต้องทำเพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์อย่างสมบรูณ์ ดังความในจดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระพระราชาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าตามราชพิธีในสยามประเทศนี้ ถือเป็นตำราแต่โบราณว่า พระมหากษัตริย์ทรงเสด็จผ่านพิภพ ต้องทำพระราชพิธีบรมราชภิเษกก่อน จึงจะเป็นพระราชาธิบดีโดยสมบรูณ์…

การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ (ปัจจุบัน) ได้ยึดแบบอย่างราชพิธีเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาหนึ่งความสำคัญคือ “น้ำอภิเษก”  ซึ่งน้ำอภิเษกที่ทรงรับนั้น เป็นน้ำที่ได้ทำพิธีกรรมตักมาจากที่ศักดิ์สิทธิ์ในอาณาจักรไทย มีความหมายว่า เพื่ออันเชิญให้พระมหากษัตริย์ทรงแผ่พระราชอาณาจักรปกครองประชาชนในทั้ง 8 ทิศ…

สำหรับน้ำอภิเษก ที่ใช้ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐ เป็นน้ำจากสถานที่ศักดิ์ ที่สำคัญทั่วประเทศไทย มีดังนี้.

น้ำสรงพระมุรธาภิเษก จากเบญจสุทธคงคา และน้ำจากสระ ๔ สระ คือสระเกษ,สระแก้ว, สระคา, สระยมนา ในจังหวัดสุพรรณบุรี และน้ำอภิเษกเป็นน้ำแหล่งน้ำศักดิ์ต่างๆใน ๗๖ จังหวัดและหอศาสตราตาคมในบรมมหาราชวัง รวม ๑๐๘ แห่ง..

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดิทรเทพยรางกูร” ขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์อดุลยเดช สยามมินทราธิเบศรราชวโรดมบรมนาถบพิตรพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๑๐ อย่างสมบรูณ์ ตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะมีพิธีบรมราชาภิเษก

ขี้นระหว่างวันที่ ๔ – ๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒.

งามอย่างไทย ” บายศรี”

บายศรี เป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นจากวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อและภูมิปัญญาที่ดีงามสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน

Read More »