fbpx

จังหวัดเชียงใหม่ มีหลายสิ่งที่ผู้คนคุ้นเคย หนึ่งในนั้นคือ
ร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง แม้ทุกคนจะรู้จัก.....
แต่น้อยคนจะรู้ว่า ร่มบ่อสร้าง มีที่มาที่ไปอย่างไร
ทำไมจึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเชียงใหม่ และเหตุใดจึงต้องเกิดขึ้นที่ "บ่อสร้าง"

ในตำนานมีเรื่องเล่าไว้ว่า… แต่เดิมมีพระภิกษุที่อยู่สำนักวัดบ่อสร้าง นามว่า ” พระอินถา” ครั้งหนึ่งท่านได้ธุดงค์ไปทางเหนือใกล้กับประเทศพม่าในปัจจุบัน ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทยลื้อ คราวนั้นผู้ที่มาใส่บาตรมีหลายเชื้อชาติ ขณะที่ท่านฉันอาหารอยู่นั้น. ได้มีชาวไทยลื้อ นำกลดมาถวาย เพราะเห็นว่าท่านไม่มีกลด หลังจากที่ท่านให้พรแก่ชาวบ้านผู้ถวายแล้ว ท่านก็ถามว่า กลดนี้ทำขึ้นเองหรือ ชาวบ้านตอบว่าเป็นฝีมือของเขาเอง  พระอินถาก็นำกลดมาพิจารณาว่าเขาทำกันอย่างไรด้วยความสนใจ  ท่านจึงถามถึงที่อยู่ และเดินทางไปยังหมู่บ้านชาวไทยลื้อผู้นั้นทันที….

ท่านได้พบเห็นชาวบ้าน กำลังทำร่มที่ใช้กางกันแดดกันฝนได้ ซ้ำยังได้เห็นร่มขนาดใหญ่ที่เรียกว่าร่มพิธี สำหรับใช้งานต่างๆทางศาสนา. แต่ร่มเหล่านั้นทำด้วยกระดาษสา  ติดด้วยยาง แล้วทาด้วยน้ำมันเพื่อกันแดดกันฝน ท่านจึงจดบันทึกอุปกรณ์และวิธีทำร่มไว้ เพราะคิดจะเอามาเผยแพร่ให้ชาวบ้านชุมชนรอบวัดบ่อสร้างได้ลองทำดู. ตอนแรกทำร่มกระดาษสาเพื่อถวายวัด ที่เหลือได้จำหน่ายไปยังหมู่บ้านต่างๆ จากนั้นร่มบ่อสร้างได้มีการพัฒนาออกมาหลายรูปแบบ มีร่มที่ทำด้วยผ้าแพรและผ้าฝ้าย ซึ่งแต่ละชนิดมีวิธีทำอย่างเดียวกัน และที่สำคัญมีลวดลายบนร่มถูกเพ้นท์ออกมา หลายแบบหลายสไตน์ให้เลือกสรรได้.

ร่มบ่อสร้าง : เป็นหัตถกรรมพื้นถิ่นคู่บ้านบ่อสร้างมายาวนาน จวบจนปัจจุบันชาวบ้านในชุมชนโดยเฉพาะ ” ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม” ได้สานต่อหัตถกรรมอันทรงคุณค่านี้จนกลายเป็นหนึ่งในผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการยอมรับในความปราณีตจากทั่วโลก….

ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม

จากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปตามถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง 9 กิโลเมตรจะมีทางแยกให้เลี้ยวซ้ายมือเข้าบ้านบ่อสร้าง

งามอย่างไทย ” บายศรี”

บายศรี เป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นจากวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อและภูมิปัญญาที่ดีงามสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน

Read More »